มนุษย์สัมพันธ์ กับ เทคโนโลยี และ โลกอนาคต
มนุษย์สัมพันธ์ กับ เทคโนโลยี และโลกอนาคต
มนุษย์สัมพันธ์ กับ เทคโนโลยี และโลกอนาคต
ในโลกยุคปัจจุบัน จะต้องเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ผลที่เกิดจากความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี โลกข้อมูลข่าวสาร ภาวการณ์แข่งขัน ที่ ไร้พรมแดน ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและ ภาวะที่มีทรัพยากรจากัด ผู้นาจึงต้อง เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ และ มีความสามารถในการกระตุ้น ให้บุคลากร ในองค์กร ได้ใช้ศักยภาพที่ดี ทางานให้เกิดผลสูงสุด สร้างพันธมิตรทั้ง ภายใน และ ภายนอกองค์กรสื่อสาร กับ บุคคลอื่นๆด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกัน รวมทั้ง เป็น ผู้มีทักษะทางการบริหารการจัดการ เพื่อ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานสูงสุด ภายใต้ภาวการณ์ ที่ เปลี่ยนแปลงในลักษณะเช่นนี้ ผู้นำในโลกปัจจุบัน และ อนาคต จำเป็นต้องมีลักษณะเด่นหลายประการ เพื่อที่จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายและความสาเร็จ และ สามารถ ปรับตัว เพื่อความอยู่รอดได้ ผู้นำแห่งอนาคต ต้องมีลักษณะดังนี้
๑. ต้อง มีการเรียนรู้ และ พัฒนาในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคของข้อมูล
ข่าวสาร เทคโนโลยี ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้น คนที่ขาด การเรียนรู้ และ ไม่มีการเปิดใจกว้าง
เพื่อรับความรู้ใหม่ๆ และพัฒนาตัวเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ก็ จะกลาย เป็นคนถอยหลังเข้าคลอง
ฉะนั้นผู้นำสาหรับ อนาคต ต้องเป็นคนยุคใหม่ ไฟแรง รัก การเรียนรู้ และ พร้อมที่จะพัฒนา จึงจะเป็น
ผู้นำในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงได้
๒. ต้องคิดเร็ว ทาเร็ว กล้าเปลี่ยนแปลงและกล้าตัดสินใจ ผู้นาแห่งอนาคตต้องคิดเร็ว
และตัดสินใจอย่างรวดเร็วภายใต้ความพร้อมของข้อมูลที่มาสนับสนุนทางเลือกและการตัดสินใจครั้ง
นั้น คนที่คิดเร็ว ตัดสินใจเร็วเท่านั้น จึงจะเป็นผู้ประสบความสาเร็จ
๓. ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และมองอนาคตได้ทะลุปรุโปร่ง ผู้นาที่สามารถนาทีมงาน
หรือองค์กรไปสู่ความสาเร็จได้นั้น ต้องมีทิศทางที่แน่ชัดว่าจะไปทางไหน มีจุดมุ่งหมายอะไร ที่สาคัญ
คนที่จะเดินไปด้วยก็ต้องรู้ทิศทางและเต็มใจที่จะไปถึงจุดหมายพร้อมกันด้วยนอกจากนั้นผู้นาต้องสามารถวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคตจะไปในทิศทางใดและเตรียมรับมืออย่างไร
๔. ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ ผู้นาแห่งอนาคตต้องเป็นศูนย์กลาง
ของคน ในองค์กร ฉะนั้น ต้อง สามารถ สร้างความเชื่อถือ ความศรัทธา ต้องสามารถสร้างขวัญและ กาลังใจ สร้างแรงจูงใจ ในการทางาน ให้เกิดขึ้น ที่สาคัญ ผู้นำแห่ง อนาคตต้อง มีบุคลิกที่ดี มีทั้งความเก่ง ความฉลาด เชาวน์ปัญญา และ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม เผชิญปัญหา แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี รวมทั้งสามารถตัดสินใจ และ ทำงานในภาวะกดดันได้อีกด้วย สำหรับผู้นำทางทหารในปัจจุบัน และ ในอนาคต คงต้องมีการปรับปรุงบทบาทต่างๆ เพื่อ ตอบรับการเปลี่ยนแปลง และ พัฒนาการของสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และหาก จะ พิจารณาเพิ่มเติมลักษณะตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ก็สามารถเป็นผู้นาทางทหารแห่งอนาคตในยุคของ การแข่งขัน และ ความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเป็นผู้นำทางทหารที่เป็นที่รัก นับถือ ศรัทธา ของกำลังพล และสามารถนำพา กองทัพไปสู่เป้าหมาย ไปสู่ความสาเร็จได้อย่างแน่นอน การศึกษาภาวะผู้นำอย่างมีระบบได้ดำเนินการต่อเนื่องมา ร่วมร้อยปี เกิดมุมมอง และ ความเชื่อต่าง ๆ ที่พัฒนามาเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำ จำนวน มากมาย ในที่นี้ จะ แบ่งเป็นกลุ่มทฤษฎี และ ยกมาเป็นตัวอย่าง เพียงบางทฤษฎี เริ่มด้วยทฤษฎี คุณลักษณะ ของผู้นำ กลุ่มทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ตัวอย่างบางทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำเชิงวีรบุรุษ หรือภาวะผู้นำใหม่โดยเสน่หาบางทฤษฎี และ ประเด็นที่เป็นแนวโน้มที่เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำในอนาคต
ความหมาย ของ ภาวะผู้นำ
มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือ คำว่า “leadership” ซึ่ง มัก เรียกว่า “ภาวะผู้นำ” หรือ “การเป็นผู้นำ” กับอีก คำหนึ่ง คือ “Management” ซึ่ง เรียกว่า “การบริหาร” หรือ “การบริหารจัดการ” ทั้งสองคำ มี ความหมาย แตกต่างกัน โดย มี นักวิชาการคน สำคัญให้ทัศนะไว้ ดังนี้
คอตเตอร์ (Kotter, 1999) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (Management) หมายถึง ความสามารถ ใน การเผชิญ กับ สถานการณ์ที่ สลับซับซ้อนได้ การบริหารจัดการที่ดี ทำให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ในแง่ มีแผนงานที่เป็น ทางการ มีโครงสร้าง ของ องค์กรที่แน่นอน ชัดเจน และ มีการ กำกับ ดูแล ให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน ส่วนภาวะ ผู้นำ หมายถึงความสามารถ ในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต จากนั้นจึงจัดวางคนพร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจ วิสัยทัศน์และสร้างแรงดลใจแก่คนเหล่านั้น ให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ให้นิยามความหมายของภาวะผู้นำจำนวนมากมายหลายร้อย นิยามแต่นิยามที่เลือกใช้ในบทนี้ ได้ให้ความหมาย ของ ภาวะผู้นำว่า เป็นความสามารถในการมีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้เแหล่งที่มาของ การมีอิทธิพล อาจเป็นอย่างทางการ เช่น ได้กำหนดชัดเจนมากับตำแหน่งทางบริหารขององค์การนั้นว่ามีอำนาจอะไรบ้างเพียงไร ดังนั้นการได้รับบทบาทการเป็นผู้นำในตำแหน่งบริหาร ก็ทำให้บุคคลนั้น ได้รับอำนาจและเกิดอิทธิพลต่อผู้อื่นตามมา อย่างไร ก็ตามความเป็นจริงพบว่า ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่สามารถเป็นผู้บริหาร (Not all leaders are managers) และเช่นเดียวกัน ก็ไม่ใช่ผู้บริหารทุกคน ที่สามารถเป็นผู้นำ (Not all managers are leaders) ด้วยเหตุนี้เพียง แค่องค์การได้มอบหมาย อำนาจหน้าที่ให้แก่ ผู้บริหารนั้น ยังไม่มีหลักประกันอย่างเพียงพอว่าผู้นั้นจะสามารถในการนำได้อย่างมีประสิทธิผลทั้งนี้อาจมีอิทธิพลจากปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบมากกว่าอิทธิพลที่กำหนดตามโครงสร้างองค์การก็ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้ว่า ผู้นำสามารถเกิดขึ้น จากกลุ่มคนให้การยอมรับนับถือได้เช่นเดียวกับที่มาจาก การแต่งตั้งอย่างทางการ ในองค์การที่ดีจำเป็นต้อง มีทั้ง ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ ที่เข้มแข็งจึงจะทำให้เกิด ประสิทธิผลได้สูงสุด โดยเฉพาะภายใต้ ภาวะของโลก ที่มีพลวัตสูง ย่อมต้องการได้ผู้นำที่กล้าท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม มีความสามารถใน การสร้างวิสัยทัศน์ และสามารถในการดลใจสมาชิก ทั้งองค์การให้มุ่งต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้น แต่เราก็ยังต้องมีการบริหารที่สามารถกำหนดรายละเอียดของแผนงานสามารถออกแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์การรวมทั้งติดตามตรวจสอบดูแล การปฏิบัติงานประจำวันอีกด้วย
ทฤษฏีภาวะผู้นำ ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฏี คือ
- ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory)
หลัก บุคคลเป็นผู้นำเพราะ มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ (รูปร่างหน้าตา สติปัญญา วิสัยทัศน์มีความสามารถเหนือคนอื่น ความประพฤติดี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี )
โดยคุณลักษณะที่เด่นชัด คือ
- มีความรู้ความสามารถในการงาน
- เข้าร่วมกิจกรรมด้วยใจรัก
- ได้รับการยอมรับจากสมาชิก สมาชิกเต็มใจทำงานร่วม
- ทฤษฎี สถานการณ์ (Situation Theory)
หลักการ ผู้นำเกิดจากสถานการณ์บางอย่างผลักดันให้บุคคลต้องแสดงบทบาทผู้นำ หรือต้องพัฒนาลักษณะผู้นำขึ้นมา (ฮิตเลอร์ มุสโสลินี หรือ เหมาเจ๋อตุง) ทฤษฏีนี้ยอมรับความสัมพันธ์ของผู้นำและกลุ่ม ผู้นำต้องครองใจปวงชนผู้แวดล้อม
- ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interaction Theory)
หลักการ ความเป็นผู้นำเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำ+สถานการณ์
(วิเคราะห์จากคุณสมบัติผู้นำ และ สถานการณ์ ) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ความเป็นผู้นำก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้นำจึงมีได้หลายคน ผลัดเปลี่ยนกันไป
ทฤษฎีอื่นๆ ในเรื่อง ภาวะผู้นำ โดย Terry สรุป ไว้ 4 ทฤษฎี คือ
- ทฤษฎีสนับสนุน (supporting Theory)
เป็นทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีโอกาสร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ (ผู้นำต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน )
- ทฤษฎีทางสังคมวิทยา(Sociological Theory)
มีความเชื่อว่าผู้นำต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยมุ่งจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
- ทฤษฎีทางจิตวิทยา( Psychological Theory)
มีความเชื่อว่าผู้นำต้องพัฒนาระบบสร้างแรงจูงใจ มีจิตวิทยาสูง ใช้เทคนิคกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์การ
- ทฤษฎียึดถืออำนาจ (Autocratic Theory)
มีความเชื่อในการใช้อำนาจ ของตนเองในการบริหาร สั่งการ บีบบังคับให้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องการเหตุผลในการอธิบายความ
รูปแบบ ของผู้นำ มี 2 รูปแบบ คือ
- ผู้นำที่เน้นงานเป็นศูนย์กลาง (Tasked –Related Function)
- ผู้นำเน้นความสัมพันธ์กลุ่มเป็นศูนย์กลาง(Group-maintenance)
Likert ได้ศึกษารูปแบบผู้นำในมหามิชิแกน พบว่า การบริหารแบ่งผู้นำเป็น 4 แบบ
- ผู้บริหารมุ่งใช้อำนาจ(Exploitative authority)
- ผู้บริหารใช้อำนาจอย่างเมตตา
- ผู้บริหารแบบการปรึกษาหารือ
- ผู้บริหารเน้นความร่วมมือกับทุกฝ่าย
ประเภทของผู้นำ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) ลักษณะเผด็จการชอบสั่งการใช้อำนาจกดขี่ / ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง /การบังคับบัญชาสั่งการจากข้างบนลงล่าง/ผู้ช่วย คือผู้ใต้บังคับบัญชา
- ผู้นำแบบเสรี(Laissez-faire leader) ไม่ยึดกฏเกณฑ์ตายตัว ปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ร่วมงานเสนอ /ปล่อยผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไปเรื่อยๆ /ไม่มีความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ / ไม่มีการประเมินผลงาน
- ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic leader) ยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง /แบ่งงาน/มอบหมายงานเป็นระบบ/ให้คำแนะนำในการงาน/สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน โดยใช้กฎเกณฑ์สร้างสรรค์งาน
คุณสมบัติของผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมี คุณลักษณะพื้นฐาน 10 ประการ คือ
- สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี
- มีความสามารถในการวิเคราะห์
- วิเคราะห์เหตุการณ์ ตัดสินใจดี
- มีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้รอบรู้
- เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนร่วมงาน และเชื่อถือไว้วางใจได้
- ตัดสินใจแน่นอน ไม่รวนเร
- รู้จักปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
- จิตใจมั่นคง ไม่เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่
- มีคุณลักษณะและความประพฤติส่วนตัวที่ดี
- มีคุณลักษณะของผู้นำ
เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำที่ ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ
- สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี
- ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม
- ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ
- พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี
- ปรับปรังบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของตนเอง
- ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพนุ่มนวล เป็นปกตินิสัย
- ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ
- ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ
กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะผู้นำที่ทำให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ คือ
- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุขุมเยือกเย็น
- มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
- สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี
- กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว ถูกต้อง
- ติดต่อสื่อสารได้ดี
- รอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ
- มีความขยันขันแข็ง มานะ อดทน
- เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์
- สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
- วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้ดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางสังคม
- ทำงานในสภาวะกดดัน ตึงเครียดไดดี
- มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
- วางแผนและประสานแผนได้ดี
- มีสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรอื่น
- รู้จักใช้ข้อมูล สารสนเทศให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้ประโยชน์ต่อการดารง ชีวิตของมนุษย์หรือหมายถึงการนาความรู้ ทักษะ และทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่ออานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์เทคโนโลยีเกิดจาก1. การค้นพบความรู้ขั้นพื้นฐานใหม่ ๆ เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เฉพาะด้านเพื่อเป็นความรู้ใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ตาม ต้องการ2. วิทยาการและเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เนื่องจากมีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการจึงต้องมีการศึกษาเฉพาะด้านและจากัด วงแคบ เพื่อศึกษาสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเทคโนโลยี มีกี่ระดับ สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ หรือสามารถระดับเบื้องต้น พัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ ระดับกลาง ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย ระดับสูง หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากระดับสูงมาก ต่างประเทศ
ด้านการ คมนาคมขนส่ง ด้านการ ด้านการศึกษา อุตสาหกรรรม ตัวอย่างด้านการ เทคโนโลยี ด้านสื่อสาร การเกษตร ด้านหุนยนต์ ด้านอวกาศ
ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นามาใช้สาหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นามาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนามาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีด้านอวกาศปัจจุบนเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อ เทียบ กับสมัยก่อนทาให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้นโดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทาโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสารวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทาขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสารทาให้การสื่อสารในปัจจุบันทาได้อย่างรวดเร็วการสารวจทรัพยากรโลกทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างและการพยากรณ์อากาศก็จะทาให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้ด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนามาประยุกต์ใช้ในการดาเนินธุรกิจตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสาหรับคุยสนทนาเพียง อย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัทมีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
ด้านการคมนาคมขนส่ง ในสมัยนี้การมีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องทาให้การเดินทางของมนุษย์นั้นย่นการเสียเวลาลงมากมีระบบ คือมีการคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว มีความสะดวกสบาย และมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งทางบก ทางน้า และทางอากาศ
ด้านการแพทย์และสาธาณสุขด้านการแพทย์ ในการผ่าตัดนั้นความเที่ยงตรงและสาธาณสุข และความนิ่งของศัลยแพทย์นั้น นับเป็น หัวใจสาคัญในการทาการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีด้านการแพทย์ ที่ได้ใช้ เทคโนโลยีเครือข่ายประกอบกับหุ่นยนต์ เข้ามาเพื่อที่จะช่วยให้แพทย์ทางานได้ สะดวกยิ่งขึ้น
ด้านอุตสาหกรรมระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจานวนมากมีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทางานอย่างอัตโนมัติ สามารถทางานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงสินค้าที่ได้มีคุณภาพดีและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมากวิทยาการและเทคโนโลยีได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับมนุษย์หลายด้านแต่ผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกขณะในปัจจุบันนี้จนบางครั้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นมีสาเหตุมาจากวิทยาการและเทคโนโลยีโดยตรง ซึ่งผลกระทบด้านลบมีสาเหตุมาจาก 2ประการคือ 1.ปัญหาการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี 2. การเปลี่ยนแปลงลักษณะของวิทยาการและเทคโนโลยี
ปัญหาการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี1.สาเหตุเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นเนื่องจากมนุษย์มีลักษณะการบริโภคที่เกินพอดี มีความโลภ ความหลงในสิ่งต่าง ๆ ไม่สิ้นสุด จึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาจากการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี 2. การไม่ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากการนาวิทยาการและเทคโนโลยี มาใช้ ไม่ประเมินผลเสียที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้เช่นการใช้ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนในอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการทาลายชั้นบรรยากาศทาให้ปริมาณรังสีตกกระทบพื้นโลกมาก ขึ้น อันจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ต่อมนุษย์สงขึ้น และทาให้อุณหภูมของโลกสูงขึ้นด้วย 3. การขาดความรับผิดชอบทางสังคมของหน่วยงาน หน่วยงานที่มีการนาวิทยาการและ เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่มีต่อ สังคม เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคมต่อประเทศชาติ และโลกหลายด้าน เช่น ปัญหาอากาศ เป็นพิษ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาน้าเสีย เป็นต้น
ผลเสียจากเทคโนโลยีด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้นความต้องการปัจจัยต่างๆในการดารงชีวิตก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวมนุษย์จึงมีการแข่งขันในการสร้างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้น เพื่อความเป็นผู้นาทางเศรษฐกิจและสังคมแต่เทคโนโลยีก็มีผลในทางลบด้วย คือ ทาให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเลวลง สิ่งที่กาลังถูกทาลายมากที่สุดในปัจจุบัน คือ พื้นที่ที่เป็นป่าไม้ อันเป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้ธรรมชาติหลายอย่างบนโลกผิดแปลกไป ตลอดจนการนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอื่นๆมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยไม่คานึงถึงประโยชน์สูงสุดผลสืบเนื่องที่ตามมานอกจากความร่อยหรอเสื่อมโทรมของทรัพยากรแล้วยังได้สร้างปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สังคมและภาวะ ประชากร เป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน และส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือ ปัญหาทางการแพทย์ ในการเพิ่มและลดจานวนประชากรการผสมเทียมเป็นต้นมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก อาจเกิดปัญหาของการว่างงานการนาเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานมนุษย์
การประยุกต์ใช้วิทยาการและเทคโนโลยีทางการเมืองและทหารประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี สามารถนาเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทาลายสูงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้นซึ่งปัจจุบันได้นามาใช้เป็นเครื่องมือสร้างอานาจและการต่อรองทางทหารและการเมือง เช่น ระเบิด เทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้พัฒนาขีปนาวุธนาวิถี เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อใช้พัฒนาดาวเทียมจารกรรมเทคโนโลยีทางเคมี เพื่อใช้พัฒนาวัตถุ เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อใช้พัฒนาอาวุธ
เป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันและส่งผลกระทบในระยะยาว เช่นฟความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสาคัญต่อการการพัฒนาพัฒนาประเทศต่างๆซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่เทคนิค ประเทศการใช้ การดัดแปลง การปรับปรุง การพัฒนาประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงทางอุตสาหกรรมการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีเป็นสิ่งสาคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าหากประเทศใดละเลยก็ส่งผลให้ประเทศนั้นไม่สามารถพัฒนาได้เท่าเทียมกับประเทศอื่นได้ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลารลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือปัญหาทางการแพทย์ ในการเพิ่มและลดจานวนประชากร การผสมเทียม เป็นต้น
ด้าน เกษตรกรรม- ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในอาหารจากการใช้สารเคมี- การใช้ปุ๋ยเคมีทาให้สภาพดินเสื่อมคุณภาพ- ทาให้มีการตัดไม้ทาลายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีเครื่องมือที่ทันสมัย
จากการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทาให้การกระจายผลผลิตทาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งทางบก ทางน้าและทางอากาศ ซึ่งนับวันยิ่งมีวิวัฒนาการก้าวล้ามากขึ้น แต่กระบวนการกระจายผลผลิตก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย ทั้งเรื่องของการเพิ่มปริมาณยานพาหนะ ทาให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียงและปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ามันเพิ่มมากขึ้น เรื่องของอุบัติเหตุระหว่างการขนส่งฯลฯ การเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจาเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูลเช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้าท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทาให้ข้อมูลหายหมด ย่อมทาให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
แนวทางการแก้ไขปัญหาจากการเทคโนโลยี ควรประเมินผลกระทบที่เป็นผลดีและผลเสียต่อสภาพแวดล้อมจากการ ใช้เทคโนโลยี ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบ นิเวศวิทยามีการบริหารและควบคุมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นประชาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงลักษณะของวิทยาการและเทคโนโลยี1.การค้นพบความรู้ขั้นพืนฐานใหม่ ๆ เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเฉพาะด้านเพื่อ เป็นความรู้ใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ 2. วิทยาการและเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เนื่องจากมีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการจึงต้องมีการศึกษาเฉพาะด้านและจากัดวงแคบ เพื่อศึกษาสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดผล กระทบด้านลบในการประยุกต์ใช้วิทยาการและเทคโนโลยี 3. ความก้าวหน้าวิทยาการและเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง การ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นนัน หรือประเทศนั้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง และเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นปัญหาระดับโลกได้ เช่น การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ การคมนาคม ขนส่ง เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเทคโนโลยีที่เหมาะสมคือการนาวิธีการหรือเครื่องมือมาใช้ให้เหมาะสมกับทรัพยากรสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมรวมทั้งสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาแต่ละ ประเทศมีข้อจากัดในการใช้ต่างกัน เนื่องจากมี ข้อแตกต่างกัน เช่น ระดับการศึกษาสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ จึงจาเป็นต้องใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศของตน
แหล่งที่มาของเทคโนโลยีที่เหมาะสม1.เทคโนโลยีที่คิดค้นมาตั้งแต่เดิมและมีความเหมาะสมในสมัยก่อนเรียกว่า เทคโนโลยีพื้นบ้าน2. การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นภายในประเทศ หรือปรับปรุงที่มีอยู่ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น3.รับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภายนอกประเทศและนามาดัดแปลงใช้ภายในประเทศ
ขอบเขตของเทคโนโลยีที่เหมาะสม1.ประชาชนมีความรู้และยอมรับในเทคโนโลยีนั้นๆในท้องถิ่นอยู่แล้ว2.ประชาชนในท้องถิ่นสามารถบริหารและจัดการในกระบวนการผลิตได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน3.เทคนิคการใช้ง่ายและไม่ซับซ้อนเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ใช้คล่องตัว4. ราคาประหยัด ต้นทุนในการผลิตต่า 5.ไม่ทาลายระบบนิเวศวิทยาและสภาพสมดุลของสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีโลกอนาคต
โลกเราในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของด้านการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันจะสังเกตได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีต่างๆนั้นได้มีการพัฒนาอย่างล้ำสมัยซึ่งส่งผลให้เกิดความสะดวกต่อการใช้งานในปัจจุบันและในอนาคต ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมี ดังนี้
1.คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
2.ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
- การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
- 6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ “ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสามวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
- อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
- 8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
- 9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
- 10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
- เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า “ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- 13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
- 15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
เราจะเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.prakan2.com/km/?name=research&file=readresearch&id=90
http://www.bscservice.com/2011/index.php/2010-12-18-17-26-59/165-2011-01-16-12-03-59
https://blog.eduzones.com/futurecareerexpo/94488
ใส่ความเห็น