สกรูเกลียวปล่อย  (Self Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อย   ผลิตจากลวดเกรดพิเศษ นำมาตีขึ้นรูป และนำไปชุบแข็ง และชุบเงา(ชุบนิเกิล) นิยมใช้กันแพร่หลายสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ และยึดอุปกรณ์ติดกับผนังโดยใช้คู่กับพุคพลาสติก(นำมาฝังปูน)

ราคา เกลียวปล่อย หัว P,F เบอร์ 6,7,8 ลด 40-50% (1-20ลัง)
ปลีกราคาต่อกล่อง ลด 35%

ราคาตั้ง เกลียวปล่อย ต่อ 1000 ตัว (ราคานี้ไม่ใช่ราคาต่อกล่อง การบรรจุอาจบรรจุ กล่องละ 1000 หรือ 500 หรือ 250 ตัว)

ขนาด 1/4″ 3/8″ 1/2″ 5/8″ 3/4″ 1,, 1 1/4″ 1 1/2″ 2,, 2 1/2″ 3″
# 4 88 92 101 115 127 152          
# 6   125 131 139 158 198 245 283      
# 7   145 152 175 198 246 295 345 450    
# 8   172 185 203 230 280 340 391 500 745 864
# 10   254 279 307 343 410 495 570 730 976 1147
# 12     380 430 475 570 680 780 980 1300 1530

 

 

 

 

บทความเกี่ยวกับสกรูเกลียวปล่อย

 การยึดเกลียวปล่อย งานเฟอร์นิเจอร์

หลักการของการยึดเกลียวปล่อยกับชิ้นงาน 2 ชิ้นให้สนิทกัน โดยชิ้นงานวิธีการคือ เจาะรูปชิ้นงานหนึ่งให้หลวม สำหรับให้ สกรูเกลียวปล่อย ทะลุผ่านเข้าไปยึดติกับอีกชิ้นงานอีกชิ้น หลังจากขันเกลียวปล่อย ชิ้นที่เป็นตัวทะลุผ่าน จะถูกดึงจากชิ้นงานที่ยึดกับสกรูเกลียวปล่อย เข้าจนแน่น  หากเรา เจาะรูปไม้ทั้งสอง ให้มีขนาดเท่ากัน อาจทำให้ไม้ทั้งสองไม่ถุกยึดจนแน่นเนื่องจาก ไม่ได้มีแรงอัดจากเกลียวปล่อยได้ ดังนั้น ควรเจาะหลวมที่ไม้ข้างหนึ่ง

ขั้นตอนการยึดเกลียวปล่อยกัน

1. เจาะนำ     คือการเจาะให้ขนาดของรูที่เจาะ เล็กกว่าหรือ เท่ากับ ขนาดเกลียว (เส้นผ่าศูนย์กลางที่ไม่รวมเกลียว) และถ้าเป็นงานไม้เนื้ออ่อน ที่เหนียว อาจไม่จำเป็นต้องเจาะนำช่วยก็ได้ (นิยมเจาะไม้เนื้อแข็ง หรือใกล้หัวไม้ เนื่องจากอาจแตกง่ายเมื่อขันเข้าไป)

2.เจาะผ่าน คือการเจาะให้มีขนาดรูเจาะ ใหญ่กว่าเกลียวนอกของสกรูเกลียวปล่อยเล็กน้อย โดยควรเจาะชิ้นงานที่อยู่ด้านบนของการเจาะยึด เพื่อให้เป็นตัวถูกดึงจากการขันเกลียวปล่อย

3.เจาะผาย(เจาะคว้าน) เป็นการเจาะเพื่อ ฝังหัวเกลียวปล่อย ให้จมลงไปในเนื้อไม้ บางทีเนื้อไม้อ่อน ก็จะดูดหัวจมไปเองได้

สกรูเกลียวปล่อย

ตัวอย่างการยึดไม้ เข้ามุม โดยเราให้ชิ้น A เป็นชิ้นที่จะถูกดึงเข้าหาชิ้น B กรณีนี้ เราจะเจาะชิ้น A ด้วยการเจาะผ่านและเจาะผายหัว

เกลียวปล่อย

จากรูป  ถ้าเราวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเกลียวนอก ของ เกลียวปล่อยตัวนี้ได้ 4.8มม.ดังนั้น ควรใช้ดอกผ่าน อย่างน้อย 5มม.และถ้าวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน(ขนาดเกลียวปล่อยไม่รวมเกลียว) ได้ 3.8มม.ดังนั้นดอกนำ ไม่ควรเกิน 3.5มม

 

รูปการติดตั้งจริง

เราวัดเกลียวนอกได้ 4.8มม. และโคนเกลียวได้ 3.8มม. เราจึงเลือกใช้ดอกเจาะนำ 3.5มม. โดยจะเล็กกว่าโคนเกลียวเล็กน้อย
 ดอกเจาผ่านควรเลือกใช้ดอก 5มม. ขึ้นไป (ที่เห็นในภาพเป็นดอกด้านล่าง)
เริ่มจาก เจาะนำด้วยดอกสว่าน 3.5มม. ก่อน โดยการเจาะพร้อม ทั้ง2ชิ้น โดยอาจใช้ clampยึดไม้ทั้ง2ชิ้นไว้และเจาะใหลึกพอสำหรับความยาวเกลียวปล่อยของเรา
ต่อด้วยการเจาะผ่าน โดยเจาะเฉพาะชิ้นงานชิ้นแรกเท่านั้น และเมื่อตำแหน่งทุกอย่างตรงตำแหน่งดีแล้ว ด้วยแคลมป์ ให้เราใช้วิธีปรับระยะดอกให้ถอยเข้า-ออก ตามความหนาไม้ โดยไม่จำเป็นต้องแกละแคล้มรัดออก
ดอกสว่านสามารถปรับยึดลดขนาดของดอกสว่านให้เหมาะสม กับไม้ที่จะเจาะชิ้นงานแรกเพื่อเจาะผ่าน

สังเกตจากรูปนี้ หากเราไม่ใช้ดอกผ่านที่มีขนาดใหญ่พอ อาจทำให้ ไม้ทั้งสองชิ้นไม่สามารถยึดกันได้สนิทได้
หากรูเจาะผ่านมีขนาดใหญ่กว่าเกลียวปล่อยจะทำให้สามารถยึดแน่นได้ระหว่างไม้ทั้งสองดังนั้นการเลือกดอกสว่านเจาะผ่านที่มีขนาดใหญ่กว่าเกลียวนอกของเกลียวปล่อย นั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าดอกผ่านใหญ่มาก อาจทำให้ หัวเกลียวปล่อยนั้น หลวมเกินไปได้

เกลียวปล่อยปลายสว่านงานไม้เทียมยึดติดกับเหล็ก

 สำหรับ เกลียวปล่อย ในปัจจุบัน มีการพัฒนา เพื่อลดความยุ่งยากในการทำงาน เหมือนกันอาทิ เกลียวปล่อยปลายสว่าน ซึ่งมีปลายเป็นเหมือนดอกสว่านที่มีขนาดเหมาะสำหรับขันยึดเกลียวปล่อยได้ทันที จึงเจาะนำและขันเกลียวปล่อยได้พร้อมกันในครั้งเดียว
ตัวอย่าง เกลียวปล่อย รุ่นใช้กับงานบอร์ดไม้เทียม
 
เกลียวปล่อย ตามรูปนั้น ได้รวม 3 กระบวนการงานเจาะ ที่ได้ กล่าวไปก่อนหน้าเข้าด้วยกัน ใช้ สำหรับงาน ยึดวัสดุแผ่น เช่นวีว่าบอร์ด ลงบนเหล็กกล่อง ถ้าเป็น เกลียวปล่อยแบบเดิม  จะ ยุ่งยากมากในการเปลี่ยนดอกไปมาหลายขั้นตอน โดยเกลียวปล่อย จะทำหน้าที่ เจาะนำ เจาะผ่าน และผายฝังหัว รวม ในการเจาะคร้้งเดียว แบ่งกระบวนการดังนี้
ส่วนที่1.ส่วนปลายของ เกลียวปล่อย ปลายเป็นดอกสว่านทำหน้าที่เจาะนำ
ขนาดของดอกสว่านจะเท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในเกลียว โดยปรกติจะออกแบบความแข็งแรงมาให้สามารถเจาะเหล็กได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และนิยมที่ใช้กับการยึดแผ่นพวกซีเมนต์บอร์ด หรือวีว่าบอร์ด ลงบนเหล็กกล่อง และงานเหล็กที่ไม่หนามาก ส่วนที่2.ถัดขึ้นมาอีกนิด จะเห็นเป็นปีกเล็กๆ มี ครีบออกมา2ข้าง เพื่อเจาะผ่าน
ส่วนตรงนี้เมื่อส่วนหัวเจาะนำไปบนเนื้อซีเมนต์บอร์ดแล้ว ปีกที่เห็นจะขูดแผ่นซีเมนต์(วีว่า)บอร์ดที่มีลักษณะร่วนเหนียว เพื่อให้รูที่ได้หลวมเล็กน้อย (หลังจากเจาะนำไว้แต่แรก)และขยายออก มีหน้าที่เป็นดอกเจาะผ่านนั่นเอง
แต่เมื่อปีกนั้นถูกอัดมาถึงส่วนที่เป็นเหล็กแล้ว มันจะไม่สามารถทนการขัดสีและความร้อนได้ ก็จะแตกหักไป ปล่อยให้ส่วนที่เป็นเกลียวนอก ขันเบ่งเข้าไปในเหล็กแทน(ส่วนใหญ่เหล็กจะอยู่ในร่องเกลียวมากกว่าถ้าเหล็กบางๆไม่หนามากนัก)
 ส่วนที่3. ตรงส่วนหัวเกลียวปล่อย มีรอยหยักๆรอบใต้ เพื่อเจาะคว้าน(ฝังหัว)
เมื่อช่วงแผ่นบนเป็นช่วงผ่าน สกรูเกลียวปล่อย เข้าไปยึดกับเหล็กได้แล้ว ช่วงอัดหมุนเข้านี้ ที่หัวของสกรูเกลียวปล่อย เขาจะมีเหล็กหยักเพื่อคว้านหัวเกลียวปล่อย และฝังลงบนแผ่นซีเมนต์บอร์ดแผ่นบนได้อย่างพอดี

 จากตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สกรูเกลียวปล่อย ยังแตกแขนงออกมาเป็นหลายประเภท ตามการใช้งาน เช่นงานหลังคา งาน เจาะเหล็ก งานเจาะไม้ และอื่นๆ ดังนั้น การเลือกใช้สกรูเกลียวปล่อยให้เหมาะสมกับงานจะช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากของงานได้

อุปกรณ์งานติดตั้ง