เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ เหล็กฉาก เหล็กตัวซี เหล็กรูปพรรณ ชุบ Hotdip Galvanized

เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ

หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: , , ,

รายละเอียดเพิ่มเติม

เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ เหล็กฉาก เหล็กตัวซี เหล็กรูปพรรณ ชุบ Hotdip Galvanized

เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ เหล็กฉาก เหล็กตัวซี เหล็กรูปพรรณ ชุบ Hotdip Galvanized

เหล็กรูปพรรณ อาทิ เหล็กฉาก เหล็กตัวยู  เหล็กเส้น เหล็กตัวซ๊   ถูกนำไปใช้ กับงานต่างๆมากมาย อาทิ งานก่อสร้าง และ งานติดตั้งงานระบบในโรงงานอุตสาหกรรม และ อาคารทั่วไป

งานระบบ โดยส่วนใหญ่ จะต้องใช้เหล็กรูปพรรณเหล่านี้ เป็น เหล็ก ในงานติดตั้งงานระบบ เป็น ซัพพอรต์ (Support) สำหรับงาน แขวนและรองรับ ท่อไฟ ท่อดับเพลิง ท่อประปา  รางไฟฟ้า และอื่นๆอีกมากมาย  และ หลายงานติดตั้ง อาทิ นอกอาคาร  เราอาจต้องการใช้ เหล็ก รูปพรรณที่มีความคงทนเป็นพิเศษ  จึงจำเป็นต้องจัดหาเหล็กรูปพรรณเหล่านี้ ในรูปแบบเหล็กชุบ HDG เพื่อเพิ่มความคงทนต่อสนิม เพราะงานติดตั้ง มีค่าแรงค่อนข้างสูง การใช้อุปกรณ์ที่แข็งแรง อาจจำเป็นต้องใช้เหล็กที่ทนต่อสภาพอากาศนั้นๆด้วย เหล็กชุบ HDG  นิยมนำไปใช้งาน ท่อเดินน้ำมันทางทะเล งานเขื่อน งานเสาไฟฟ้า งานเสาสัญญาณโทรศัพท์ งานโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์ งานตะแกรงเหล็ก กัลวาไนซ์ งานเกรทติ้งกัลวาไนซ์ งานแผงวางท่อ งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการชิ้นงานที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี 

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ แบบจุ่มร้อน (Hot Dip Galvanized) ต่างจาก เหล็กกัลวาไนซ์ GI เหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG คือการนำเหล็กรูปพรรณ มาลงบ่อชุบสังกะสี/บ่อกัลวาไนซ์บริสุทธิ์ 99 % ที่อุณหภูมิ 450 C° เพื่อเสริมชั้นเคลือบกันสนิมแบบหนาตั้งแต่ 45-250 ไมครอนขึ้นไป ตามมาตรฐาน ASTM A123 และ ASTM A153 เหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ การป้องกันสนิมสูง งานริมทะเล งานใกล้น้ำกร่อย งานเสาไฟฟ้าแรงสูง งานเสาไฟโซล่าเซลล์ ท่อเดินน้ำมันทางทะเล งานเขื่อน งานเสาไฟฟ้า งานเสาสัญญาณโทรศัพท์ งานโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์ งานตะแกรงเหล็กกัลวาไนซ์ งานเกรทติ้งกัลวาไนซ์ งานแผงวางท่อ งานในโรงงานอุตสากรรมต่างๆ ที่ต้องการชิ้นงานที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เป็นต้น

 

 

 

 

 

เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ
เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ

 

 

 

 

 เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำ เหล็กตัวซี ชุบ Hotdip Galvanized
เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำ เหล็กตัวซี ชุบ Hotdip Galvanized

 

 

 

 

 

ติดต่อเรา

หจก. โปรแวร์ซัพพลาย

ทร 02-539-3511 แฟ็กซ์ 02-245-1544

ฝ่ายขาย มือถือ  061-645-4816 

จัดซื้อ มือถือ 081-989-1964

Email : proware_s@hotmail.com

Line ID: proware.s 

เพิ่มเพื่อน

Line Official: @upl6873u

 

อุปกรณ์งานติดตั้ง
           ย้อนกลับ

 

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized

     เหล็กชุบฮอทดิพกัลวาไนซ์ HDG   เป็นกระบวนการผลิตเหล็กชุบฮอทดิฟกัลวาไนซ์ เพื่อ ป้องกันสนิม โดย นำเหล็กรูปพรรณ โดย นำเหล็กรูปพรรณ มาจุ่ม ในบ่อ ชุบสังกะสี เหลว 99 % ที่ อุณหภูมิ 450°C เหมาะ สำหรับ งาน กลางแจ้ง หรืองานนอกอาคาร ที่มีโอกาสขึ้นสนิมสูง โดยเหล็กกัลวาไนซ์แบบ Hot-Dip Galvanized จะ มีความหนาชั้นเคลือบ สังกะสี ตั้งแต่ 50 ถึง 250 ไมครอนขึ้นไป เหล็กชุบฮอทดิปกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized   นิยมนำไปใช้งาน ท่อเดินน้ำมันทางทะเล งานเขื่อน งานเสาไฟฟ้า งานเสาสัญญาณโทรศัพท์ งานโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์ งานตะแกรงเหล็ก กัลวาไนซ์ งานเกรทติ้งกัลวาไนซ์ งานแผงวางท่อ งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการชิ้นงานที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เป็นต้น

กระบวนการผลิตตามมาตรฐาน ของเหล็กชุบกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized มีดังนี้ 

       1. การเตรียมงานเหล็ก  ก่อนเข้ากระบวนการชุบ (Rinsing)  เช่น ตัดต่อ เชื่อม สร้างรูปร่างตามต้องการ

       2. การทำความสะอาดผิวเหล็ก (Blast) เช่นกัดกรด ผิวเก่า   

       3. การชุบน้ำยาประสาน (Fluxing) 

       4. การชุบกัลวาไนซ์ในบ่อชุบ จุ่มลงในบ่อจุ่มสังกะสีเหลว

       5. การเจียร ตกแต่งผิวชิ้นงาน (Finishing)  หลังการชุบ อาจมีขี้สังกะสีติดเป็นก้อน จำเป็นต้องตัดแต่ง ส่วนที่เกินออก

      6. การตรวจสอบความหนาของชั้นเคลือบก่อนส่งมอบงาน (Inspection and Assurance) คือตรวจสอบว่าตรงตามความต้องการลูกค้าไหม
ข้อแนะนำการจัดเก็บรักษาสินค้าเหล็กชุบกัลวาไน​ซ์ 

ควรมีผ้าคลุม และ ไม่ให้แช่น้ำขังเป็นเวลานานเพื่อคุณภาพของสินค้า กรณี มีละอองเหล็กที่เกิดจากการตัด ควรระมัดระวังไม่ให้ละอองมาเกาะที่ผิวเหล็กเพราะอาจจะทำให้เกิดจุดสนิม และ ลามไปถึงพื้นผิวโดยทั่วได้

เหล็กชุบกัลวาไน​ซ์ HDG​ ไม่ควรโดน​กรดชนิดรุนแรง​ เช่น​ โซดาไฟ​ หรือ​ การนำสารกัดกร่อนต่างๆ​มาเท​ราด​ เพราะจะเป็นการเร่ง​การทำลายผิวชั้นเคลือบกัลวาไนซ์​ ทำให้อายุการใช้งาน​สั้นลง​

ค่ามาตรฐานของชั้นเคลือบเหล็กชุบกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized

ค่าความหนา ของชั้นเคลือบกัลวาไนซ์  จะเรียกว่า ค่าไมครอน (Micron) ซึ่งขึ้นอยู่กับความหนาของเหล็กที่นำมาชุบ

ความหนา ของชั้น เคลือบสังกะสี (microns) ที่ระบุไว้ต้องเป็นไปตาม มาตรฐานสากลดังนี้ ISO 1461, ASTM a123,  ASTM a153

โดยมีมาตรฐานตาม ตารางเหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG – ASTM a123 ดังนี้

 

เหล็กกัลวาไนซ์ กับ เหล็กชุบซิงค์ แตกต่างกันอย่างไร

จริงแล้ว เนื้อเหล็กของทั้งสองชนิดนี้เป็นเนื้อเหล็กกล้าเหมือนกัน อย่างที่ทราบกันว่าเหล็กนั้นมีความแข็งแรงและคงทน ตัดทำลายก็ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ หากแต่เหล็กนั้นก็เป็นแร่ที่มีจุดอ่อนในเรื่องของการไม่ทนทานต่อความชื้น ซึ่ง เป็นตัวทำให้เกิดสนิม ที่เป็นตัวอันตรายต่อความแข็งแรงของเหล็ก

สนิมเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากประเทศของเรานั้นอยู่ในเขตร้อนชื้น และมีช่วงฤดูฝนมีความชื้นตลอด เพราะฉะนั้นก่อนที่จะนำเหล็กมาใช้งาน จึงนิยมนำไปทาสีป้องกันเพื่อ ช่วยป้องกันสนิมเพื้อให้สามารถนำเหล็กชนิดนั้นๆ ไปใช้ได้อย่างปลอดภัย  แต่กระบวนการไหนที่จะป้องกันสนิมได้ยาวนานกว่ากัน  การชุบ HDG  เป็นวิธีนึงที่ได้รับการยอมรับว่าคงทนมาก

ทำความรู้จักกัลวาไนซ์

กัลวาไนซ์ (Galvanized/Galvanization/Galvanizing) หมายถึง กระบวนการเคลือบพื้นผิวเหล็กด้วยสังกะสีเพื่อป้องกันสนิม เนื่องจากสังกะสีมีศักย์ไฟฟ้าที่ต่ำกว่าเหล็ก จึงช่วยป้องกันการกัดกร่อนในลักษณะการป้องกันแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) ให้กับเหล็กได้

การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing)

การชุบสังกะสีแบบไม่ต่อเนื่อง (General Galvanizing)

การชุบสังกะสีแบบต่อเนื่อง (Continuous Galvanizing)

การเคลือบด้วยไฟฟ้า (Electrogalvanizing)

การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (Zinc Spraying)

การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (Zinc-Rich Paints)

การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (Sherardizing)

เมื่อเหล็ก ผ่านการเคลือบสังกะสี แล้ว มักจะถูก เรียกว่า เหล็กกัลวาไนซ์  และวิธีที่นิยมมากที่สุดคือวิธี การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing) นั่นเอง

เหล็กชุบกัลวาไนซ์คืออะไร?

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ คือ เหล็กที่ถูกนำไปชุบสังกะสีเหลว หรือก็คือสังกะสีในช่วงอุณหภูมิ 435-455 องศาเซลเซียสด้วยกัน บ้างก็ถูกเรียกว่าเหล็กชุบกัลวาไนซ์ เพราะโดยปกติแล้วเราจะเรียกวิธีการชุบเหล็กกัลวาไนซ์กันว่า Hot Dip Galvanized หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

กระบวนการ ทำเหล็กชุบกัลวาไนซ์
กระบวนการทำเหล็กกัลวาไนซ์นั้น จะซับซ้อน และ มีหลายขั้นตอน ก่อนการนำไปจุ่มร้อนจะต้องมีการกัดด้วยกรด และ แช่น้ำยา อีกทั้งยังอาจต้องผ่านวิธีการทาหรือพ่นกัลวาไนซ์อีกครั้งเพื่อความคงทน ผู้ทำต้องมีความพิถีพิถัน และ ความชำนาญ ทำให้การชุบ hdg มีราคาที่แพงกว่าเหล็กชุบแบบอื่น แต่คุ้มค่าคุ้มราคาเพราะ วัสดุเหล็กจะแข็งแรงทนทานมาก  สังกะสีถูกเคลือบจนมีความหนาถึง 65-300 ไมครอน

ข้อดี และ ข้อเสีย ของเหล็กชุบกัลวาไนซ์
เหล็กชุบกัลวาไนซ์   เป็นเหล็ก กัลวาไนซ์ กันสนิมรูปพรรณ  ข้อดีหลักๆ ของเหล็กกัลวาไนซ์ก็คือความทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไรก็ไม่อาจทำลายเหล็กชนิดนี้ได้ และเนื่องจากมีชั้นชุบที่หนาจึงทำให้เกิดสนิมได้ยาก เหมาะกับการใช้ในที่โล่งแจ้งอย่างเสาธง เสาโคมไฟถนน อายุการใช้งานจึงยาวนานกว่าเหล็กชุบชนิดอื่น สามารถใช้กับงานระบบท่อน้ำได้อย่างสบายๆ เพราะสามารถรับน้ำหนักและความดันได้เป็นอย่างดี  ข้อเสียจะอยู่ที่เรื่องของงบประมาณ เพราะด้วยราคานั้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเหล็กก่อนชุบ

เหล็กชุบซิงค์ หมายถึง เหล็กที่เคลือบสังกะสีโดยการใช้ไฟฟ้าเป็นตัวเหนี่ยวนำ เหล็กชุบซิงค์มีลักษณะของพื้นผิวที่เรียบเนียนและเงางาม เหมาะ สำหรับการนำไปใช้ในงานที่เน้นความสวยงาม ของเหล็ก สามารถทนทานต่อการสึกกร่อนได้ดี นิยมนำไปใช้กับงานโครงเบา ตัวอย่างเช่น งานโครงหลังคา ฝ้าและเพดาน เป็นต้น

 

กระบวนการทำเหล็กชุบซิงค์
วิธีการเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้าทำโดยการจุ่มเหล็กกล้าลงในอ่างอิเล็กโทรไลต์ที่มีซิงค์ ไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างอิออนในซิงค์ ต่อพื้นผิวของเหล็ก ผลลัพธ์ที่ได้คือการเกิดชั้นเคลือบสังกะสีบนผิวโลหะ จะมีความหนาไม่เกิน 20 ไมครอน เหล็กชุบซิงค์จะสามารถต้านทานการกัดกร่อนโดยไอเกลือ (Salt Spray Test) ไม่เกิน 120 ชั่วโมง

ข้อดีและข้อเสียของเหล็กชุบซิงค์
ข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือน้ำหนักของเหล็กชุบซิงค์จะค่อนข้างเบา ทำให้ง่ายต่อการขนย้าย ทนทานต่อการเกิดสนิมได้ดี ต้นทุนตัววัสดุและต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้ทำเหล็กชุบซิงค์น้อยกว่าเหล็กชนิดอื่น ทำให้มีราคาถูกกว่า

ในส่วนของข้อเสีย เนื่องจากชั้นชุบบางกว่า เหล็กชุบกัลวาไนซ์หลายเท่า เหล็กชุบซิงค์ จึงไม่เหมาะกับงาน ที่ต้องเจอความชื้นมากๆ เช่น งานกลางแจ้ง ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้กับงานภายในอาคารมากกว่า อีกประการหนึ่ง ในกระบวนการทำเหล็กชุบซิงค์จะมีการนำไปเคลือบด้วยโครเมต (Chromate Treatment) ซึ่งสารโครเมียมนั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและตัวผู้ ชุบเคลือบ

 

เหล็กชุบซิงค์เฟล็ค (เกล็ดสังกะสี) 

เนื่องจากสารโครเมียมนั้น เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ การเคลือบผิวเหล็กเพื่อกันสนิมอีกรูปแบบหนึ่งอย่าง การเคลือบเหล็กด้วยเกล็ดสังกะสี (Zinc Flake Coating) หรือที่เรียกว่า เหล็กชุบซิงค์เฟล็ค จึงนับว่าสามารถตอบโจทย์ได้เมื่อต้องการ หลีกเลี่ยง สารโครเมียม ตัวเหล็กชุบซิงค์เฟล็คมีลักษณะพื้นชั้นผิวสีเทา- เงิน ถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติข้อสำคัญ คือ ปราศจากสารโครเมียม (Chromium-Free) การชุบซิงค์เฟล็ค นิยมใช้ในงานข้อต่อต่างๆ อย่างสกรูหรือน็อต

 

หลักการของการทำเหล็กชุบซิงค์เฟล็ค
เหล็กหรือโลหะจะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบผิว DELTA-MKS® (เดลต้า-เอ็มเคเอส) ซึ่งเป็นการชุบซิงค์เฟล็ค หรือการชุบซิงค์อลูมิเนียม ที่ให้การป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) คือ ตัวชั้นเคลือบจะทำหน้าที่สูญเสียอิเล็กตรอนแทนชิ้นงานเหล็กหรือโลหะ การกัดกร่อนจึงเกิดที่ผิวของชั้นเคลือบแทนตัวชิ้นงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกับเหล็กกัลวาไนซ์ นอกจากนี้ เหล็กชุบซิงค์เฟล็คสามารถต้านทานการกัดกร่อนโดยไอเกลือได้นานถึง 1,500 ชั่วโมง

เหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบเดลต้า-เอ็มเคเอสจะไม่เกิด Hydrogen Embrittlement หรือการแตกเปราะจากไฮโดรเจน ซึ่งเป็นความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเหล็กประเภทอื่นเมื่อมีการใช้งานในสภาวะที่มีไฮโดรเจนในอนาคต

ข้อดีและข้อเสียของเหล็กชุบซิงค์เฟล็ค
ข้อดีที่สำคัญของการชุบซิงค์เฟล็ค  คือ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ เพราะไม่มีส่วนประกอบของโครเมียม ทั้งเฮกซะเวนเลนซ์โครเมียม และไตรเวนเลนซ์โครเมียม นอกจากนี้ ยังไม่มีสารโลหะอันตรายอื่นๆ อย่างตะกั่ว ปรอท และแบเรียม

ตัวชั้นเคลือบมีความบางในระ     ดับไมครอน หากเทียบในความบางที่เท่าเหล็กชุบซิงค์ เหล็กชุบเกล็ดสัง

 เหล็กชุบเกล็ดสังกะสีหรือเหล็กชุบซิงค์เฟล็คจะสามารถป้องกันการกัดกร่อนได้สูงกว่ามาก รวมทั้งสามารถต้านทานต่อสารเคมีและทนความร้อนได้สูง

อย่างไรก็ตามเหล็กชุบซิงค์เฟล็คมีข้อเสียที่เรื่องของงบประมาณเช่นเดียวกับเหล็กกัลวาไนซ์ ราคาจะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเหล็กชุบซิงค์

 

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “เหล็กชุบ HDG เหล็กยูรางน้ำ เหล็กฉาก เหล็กตัวซี เหล็กรูปพรรณ ชุบ Hotdip Galvanized”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *