ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สำเร็จรูป-Invoice Form สำหรับผู้เริ่มทำธุรกิจ
ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สำเร็จรูป
หากคุณกำลัง เริ่มต้น ทำการค้า ต้องเปิดบิล ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน แบบฟอร์มใบเสร็จรับเงินสำเร็จรูปช่วยคุณได้
อยากจดทะเบียนธุรกิจต้องเริ่มต้น อย่างไร
สำหรับผู้นักธุรกิจ และ เจ้าของกิจการรายใหม่ที่พึ่งเริ่มต้นทำการค้า ต้องการจดทะเบียนธุรกิจ คงกำลังสงสัยว่าควรจะต้องเริ่มอย่างไร และเปิดบิลอย่างไร ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใหม สั่งทำใบกำกับภาษี และ ใบเสร็จรับเงิน ที่ไหน ทำบัญชี อย่างไร ผมจึงอยากจะขอแนะนำดังนี้ครับ หากคุณมีแนวทางทางธุรกิจ อยู่แล้ว ควรเริ่มจากหาที่อยู่ที่แน่นอนในการจดทะเบียนธุรกิจครับ ที่อยู่ที่น่าเชื่อถือ มีตัวตน สามารถ ติดต่อได้ ขึ้นกับ ธุรกิจ ของคุณเอง หากคุณต้องมีหน้าร้าน ก็ควรจดที่หน้าร้านของคุณ แต่ทั้งนี้แล้วแต่ ความเหมาะสมครับ เมื่อ คุณตัดสินใจที่จะจดทะเบียนธุรกิจแล้ว คุณควรเริ่มจากเข้าไปในหน้า เว็บไซด์ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (คลิ๊กที่นี่) เข้าไปสมัคร สมาชิก และ เลือกหน้าจองชื่อเพื่อจองชื่อธุรกิจของคุณ โดยชื่อที่สามารถจองได้จะต้องไม่ซ้ำกับธุรกิจเดิมที่เคยจดไว้ เท่านั้น หลังจาก คุณจองชื่อได้แล้ว นำชื่อที่ได้มากับข้อมูล การจองให้กับผู้ที่ให้ บริการ รับจดทะเบียนธุรกิจจัดทำ ต่อไปครับ (อย่าลืมคิดโลโก้ธุรกิจคุณไว้ดว้ยนะครับ)
ข้อมูลหลักๆ ที่สำคัญที่จะต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการรับ จดทะเบียนทราบคือต้องการจดทะเบียนในรูปนิติบุคคลรูปแบบไหน เช่นรูปบริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้านค้า จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไหม (ใช้ ใบเสร็จรับเงิน กับคู่ค้าไหม) และ วัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจคืออะไร ซึ่งวัตถุประสงค์หลักๆของเรา จะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการ ส่วน ผู้ให้บริการรับจดทะเบียนจะใส่วัตถุประสงค์ทั่วๆไปเพิ่มเติมให้เราแบบครอบจักรวาลอยู่แล้วครับ ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาการทำธุรกิจไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ได้ครับ สำหรับผู้ที่ต้องการจะวิ่งจดทะเบียนด้วยตัวเองคงต้องหา รายละเอียด เพิ่มเติมครับ เพราะว่า จำเป็นต้องจ้างให้นักกฏหมายเซ็นชื่อรับรอง เพิ่มเติมครับ
เมื่อคุณจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว คุณสามารถซื้อขายได้แล้ว และถ้าจดภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณก็สามารถ ออก ใบกำกับภาษี ได้ครับ เมื่อคุณพร้อมที่จะออกบิลให้กับลูกค้าแล้ว คำถามต่อมาคือ ควรเปิดบิลอย่างไร เรื่องของ ใบกำกับภาษี คงเป็นเรื่องน่าปวดหัวหากคุณไม่มีเครื่องมือในการพิมพ์บิล หากคุณไม่มีคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ คุณอาจต้อง เลือกที่จะสั่ง พิมพ์บิล ใบเสร็จรับเงินใบกำกับภาษี จากโรงพิมพ์ ซึ่งเป็นบิลในรูปเล่มสมุด โดยใช้วิธีเขียนลงในบิล ซึ่งเป็นกระดาษสองชั้น สามชั้น แล้วแต่จะสั่ง แต่บิล ลักษณะนี้ อาจจำเป็นต้องสั่งปริมาณมากๆจึงจะได้ราคาถูก จึงอาจสร้างความกลัดกลุ้มให้ท่านซึ่งเพิ่ง จะเริ่มทำธุรกิจ
หากคุณมีคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ คุณสามารถ แก้ปัญหา ชั่วคราวด้วยเครื่องพิมพ์ที่คุณมี สร้างฟอร์ม ที่ถูกกฏหมาย พิมพ์ ใบกำกับภาษี จาก เครื่องพิมพ์ ของคุณได้ โดย ดูวิธีการจัดทำ ใบกำกับภาษี จาก การ ออกเอกสาร กรณีทั่วไป
วิธีต่อไป หากคุณมีเครื่องพิมพ์ระบบหัวเข็ม หรือตั้งใจจะใช้เครื่องพิมพ์ระบบนี้ คุณสามารถซื้อกระดาษต่อเนื่องสำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดมาใช้ได้เช่นกระดาษต่อเนื่อง มีคาร์บอนในตัว หรือ รุ่นกระดาษคาร์บอนในตัว การใช้เครื่องพิมพ์ระบบหัวเข็มได้รับความนิยมสูงในการนำมาใช้ออก ใบกำกับภาษี เนื่องจากสามารถ ทำสำเนาเอกสาร ให้กับเราได้ตามจำนวนชั้นต้องการได้ แต่ ถ้าหากเราใช้กระดาษที่ไม่มี ฟอร์มอะไรเลย ในกระดาษ เครื่องพิมพ์ จำเป็น ต้องพิมพ์ รายละเอียดมาก จึงทำให้เครื่องทำงานช้า ดังนั้น หากในภายหลังคุณเริ่มออก บิล จำนวน มากขึ้นแล้ว จึงอาจจำเป็นต้องสั่งพิมพ์แบบฟอร์มกระดาษต่อเนื่องของธุรกิจคุณ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรของคุณ
หรือทางเลือกใหม่ สำหรับธุรกิจ ที่พึ่งเริ่ม และธุรกิจที่ใช้ปริมาณบิลน้อย ไม่ต้องการสั่งพิมพ์แบบฟอร์มแต่ต้องการให้เอกสารขององค์กรของคุณดูน่าเชื่อถือ แบบฟอร์มกระดาษต่อเนื่องสำเร็จรูป จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนำมาใช้เปิดบิล
วิธีการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในกรณีต่าง ๆ
กรณีทั่วไป กรณีออกเป็นชุด กรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง กรณีฝากขายตามสัญญาตั้งตัวแทน
– ต้องมีข้อความใน ต้นฉบับ และ สำเนา เหมือนกัน- ต้นฉบับส่งมอบให้ ผู้ซื้อ สำเนาเก็บรักษาไว้- กรณีขายเป็นเงินเชื่อควรแยก ใบกำกับภาษี ออกจาก ใบส่งของ และส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีสำเนาใบส่งของให้ผู้ซื้อและเก็บต้นฉบับใบส่งของไว้เป็นหลักประกันชำระหนี้ – ต้องมีข้อความ “เอกสารออกเป็นชุด” ในใบกำกับภาษี ข้อความ ดังกล่าว จะต้องตีพิมพ์ หรือ จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์- ใบกำกับภาษีที่ทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับจะประทับตรายางเขียนด้วยหมึกพิมพ์ดีดหรือวิธีอื่นในลักษณะเดียวกันไม่ได้ – ถ้านำใบกำกับภาษีของสำนักงานใหญ่ส่งมอบให้ผู้ซื้อ จะต้องมีข้อความ “สาขาที่ออกใบกำกับคือ………….” – ตัวการ (ผู้ฝากขาย) ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทน(ผู้รับฝาก) เมื่อตัวแทนขายสินค้าให้ผู้ซื้อ ตัวแทนต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในนามตัวการ- ในการดำเนินการข้างต้นตัวแทนต้องระบุชื่อ ที่ยอู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนด้วย
ประเภทของใบกำกับภาษี และผู้มีสิทธิออกในกรณีต่าง ๆ
1. ใบกำกับภาษี เต็มรูป
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไปต้องออกใบกำกับภาษี แบบเต็มรูป ซึ่งจะมีข้อความคล้ายกับใบส่งของหรือ ใบเสร็จรับเงิน ผู้ประกอบการจึงอาจปรับปรุงใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงินให้เป็นใบกำกับภาษีในฉบับเดียวกันได้
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้แก่ผู้ขายปลีก เช่น กิจการแผงลอย ขายของชำ ขายยา ขายน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า จำหน่ายอาหาร โรงแรม ซึ่งเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้
1) เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการชายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง มิใช่นำไปขายต่อ
2) การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคลจำนวนมาก เช่น ภัตตาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ สถานบริการน้ำมัน เป็นต้น
3) ต้องจัดทำ ใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4
4). ใบกำกับภาษีและ ใบเสร็จรับเงิน ที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีใบเสร็จรับเงินอย่างย่อจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อการออก ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ก็ได้โดยให้ยื่นคำขออนุมัติต่อ อธิบดีกรมสรรพากรก่อน
หมายเหตุ: ผู้ประกอบการที่ได้รับ “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” หรือ “ใบกำกับภาษีที่ออกโดย เครื่องบันทึกการเก็บเงิน”จะนำมาเป็นหลักฐานในการขอหักภาษีซื้อไม่ได้ หากผู้ซื้อต้องการหลักฐานเต็มรูปแบบ ผู้ค้าต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้กับผู้ซื้อทันที
รูปแบบรายการในใบกำกับภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ใบกำกับภาษีเต็มรูป ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกโดย เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
1. คำว่า “ใบกำกับภาษี อย่างย่อ” หรือหรือคำว่า “TAX INV (ABB)”หรือคำว่า “TAX INVOICE (ABB)”
2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขาย
4. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ
5. เลขที่ เล่มที่(ถ้ามี) ของใบกำกับ
6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
7. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และราคาของสินค้าหรือบริการ
8. จำนวนภาษีมูลคาเพิ่ม โดยให้แยกออก จากราคาสินค้า หรือบริการให้ชัดแจ้ง
7. ราคาของสินค้าหรือบริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าราคาได้รวมภาษีมูลค่าไว้แล้ว
8. เลขประจำตัวเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
สนใจใบกำกับภาษีสำเร็จรูป สั่งได้ที่นี่
ใส่ความเห็น